ทำความรู้จักกับ มังกรทะเลใบไม้
มังกรทะเลใบไม้ (Leafy Sea Dragon) เป็นสัตว์ทะเลที่มีความงดงาม เมื่อได้เห็นพวกมัน คุณอาจรู้สึกเหมือนกำลังมองดูสิ่งมีชีวิตที่หลุดออกมาจากนิทานหรือโลกแฟนตาซี ด้วยรูปร่างที่คล้ายกับสาหร่ายทะเลและการเคลื่อนไหวที่อ่อนช้อย ทำให้พวกมันดูเหมือนกำลังเต้นรำในน้ำ แต่มังกรทะเลใบไม้ กำลังอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม มันเสี่ยงต่อการถูกล่าเพื่อนำไปเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงาม
มังกรทะเลใบไม้ (Leafy seadragon) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phycodurus eques อยู่ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับม้าน้ำ โดยถือเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phycodurus
พบเห็น มังกรทะเลใบไม้ ได้จากที่
ทางตอนใต้และตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นปลาเฉพาะถิ่น มักอาศัยอยู่ในกระแสน้ำอุ่นในความลึกตั้งแต่ 3-50 เมตร
จุดเด่นของ มังกรทะเลใบไม้
มีความยาวเต็มที่ได้ประมาณ 35 เซนติเมตร มีครีบต่าง ๆ ลักษณะคล้ายใบไม้หรือสาหร่ายทะเล ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นปลาที่มีความสวยงามที่สุดในโลก ซึ่งครีบเหล่านี้ไม่ได้มีไว้ว่ายน้ำ แต่ใช้สำหรับอำพรางตัวจากศัตรูและยังใช้หาอาหารอีกด้วย มังกรทะเลใบไม้ใช้ครีบอกในการว่ายน้ำ ซึ่งครีบอกนั้นมีลักษณะใสโปร่งแสง และมองเห็นได้ยากมากเมื่อเวลาปลาเคลื่อนไหว ทำให้มังกรทะเลใบไม้ดูแลยากเมื่อแฝงตัวไปในหมู่สาหร่ายทะเล มีปากที่เหมือนท่อยื่นยาวออกมา ตอนปลายมีที่เปิด กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, กุ้งและครัสเทเชียนขนาดเล็ก ๆ
การผสมพันธุ์และวางไข่ ของ มังกรทะเลใบไม้
มังกรทะเลใบไม้ไม่มีถุงหน้าท้องเหมือนม้าน้ำ แต่ตัวเมียมีไข่ติดอยู่กับใกล้ส่วนหางซึ่งเต็มไปด้วยเส้นเลือดที่มีอยู่มากมายซึ่งพัฒนาขึ้นมาเฉพาะตัวผู้ในช่วงผสมพันธุ์เท่านั้น เมื่อผสมพันธุ์กันตัวเมียจะวางไข่บริเวณหางของตัวผู้ซึ่งจะม้วนงอเข้า ปริมาณไข่ราว 100-200 ฟอง หรือเต็มที่ 250 ฟอง
ซึ่งช่วงการผสมพันธุ์วางไข่นั้นจะอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-มีนาคม ของปีถัดไป ไข่ที่ยึดติดกับส่วนหางของตัวผู้จะได้รับออกซิเจนจากเส้นเลือดของหาง โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 4-6 สัปดาห์ เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้วปลาตัวผู้จะไม่ดูแลไข่
โดยตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณหนึ่งปีที่จะโตเต็มจนถึงขนาด 20 เซนติเมตร และใช้เวลา 2 ปี ที่จะโตเต็มที่
เอกลักษณ์เฉพาะตัว ของ มังกรทะเลใบไม้
ตำหนิหรือสีแต้มต่าง ๆ ของแต่ละตัวจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสิ่งเหล่านี้ส่งผ่านกันได้ตามพันธุกรรม เมื่อยังเป็นวัยอ่อนลำตัวจะใส ไม่มีสี มีอายุขัยประมาณ 6 ปี แต่ก็มีบางตัวที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่ามีอายุมากถึง 9 ปี
มังกรทะเลใบไม้เป็นสัตว์คุ้มครอง
ทางการออสเตรเลียได้ออกกฎหมายปลาชนิดนี้ไว้เป็นสัตว์คุ้มครอง โดยห้ามจับหรือมีไว้ในครอบครองเด็ดขาด แต่ได้อนุญาตเป็นการพิเศษให้แก่นายแปง กวอง ซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาทะเลชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย จับและครอบครองได้แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยอนุญาตให้จับได้เพียงปีละตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมังกรทะเลใบไม้ตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลกนั้นก็มาจากการจับของคนผู้นี้เอง
มังกรทะเลใบไม้ จัดเป็นปลาที่มีความอ่อนไหวมาก จึงยากมากที่จะทำการเลี้ยง แม้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ก็ตาม มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในโลกที่มีปลาชนิดนี้ไว้เลี้ยง
ตามติดชีวิตของ มังกรทะเลใบไม้
โลกใต้นํ้า แม้ว่าบางอย่างจะไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สัตว์นํ้าที่อยู่ใต้ผืนนํ้ากำลังเผชิญปัญหาวิกฤต สิ่งมีชีวิตแสนมหัศจรรย์โบราณที่ซ่อนตัวอยู่ อสุรกายทะเลที่อำพรางตัวอยู่นั้นก็คือ มังกรทะเลใบไม้ (Leafy Sea Dragon) มันลึกลับซะจนแม้ว่าเรากำลังมองหามัน โอกาสที่จะพบเจอมัน มีอยู่น้อยมาก เพราะพวกมันเลือกที่จะใช้ชีวิตทั้งหมดในดงสาหร่ายในมหาสมุทรไกลจากสายตามนุษย์
มังกรทะเลใบไม้ (Leafy Sea Dragon) เป็นเสมือนตัวแทนสภาพแวดล้อมรอบตัวมัน มันเป็นได้ทุกอย่างเหมือนกับชื่อมัน รูปลักษณ์ของมันเหมือนกับมังกรในยุคกลางบวกกับอสุรกายทะเลสมัยโบราณ แต่มันไม่ได้มาจากยุคกลางและไม่ใช่อสุรกายแต่อย่างไร อันที่จริงมังกรทะเลใบไม้ก็คือ “ปลา” บางทีอาจจะเป็นสัตว์ทะเลที่เปราะบางที่สุด ที่อาศัยอยู่ในโลกของนักล่าอันดุร้าย แต่ถ้าเราสังเกตุมังกรทะเลใบไม้ (Leafy Sea Dragon) แบบชัดเจนแล้ว เราก็จะตระหนักว่าทำไมพวกมันจึงอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายได้
ด้วยรูปลักษณ์ที่น่าแปลก ชีวิตของมังกรทะเลใบไม้ขึ้นกับความสามารถในการเลียนแบบสาหร่ายทั้งสิ้น อวัยวะที่เหมือนใบไม้ทั้งร่างกายช่วยให้มันพลางตัวได้เนียน มังกรทะเลใบไม้นั้น พิเศษมากในเรื่องการพลางตัว ไม่มีสิ่งมีชีวิตไหนๆจะพลางตัวได้เท่า สัตว์นํ้าชนิดอื่นล้วนพลางตัวด้วยการเปลี่ยนสี แต่มังกรทะเลใบไม้เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีหน้าตาเหมือนที่อยู่ที่มันอาศัยอยู่
เมื่อมังกรทะเลใบไม้อยู่ด้วยกัน พวกมันจะครองคู่กันไปตลอดชีวิต และผสมพันธุ์กับตัวเดิมทุกปี เพื่อสร้างเป็นครอบครัวมังกรทะเลใบไม้ขึ้นมา เราสามารถแยกแยะลักษณะของมังกรทะเลใบไม้ได้ง่าย เพราะพวกมันมีลักษณะเด่นของตัวเอง เช่น อาจจะครีบแหว่ง หางขาด ฯลฯ พวกมันมีวิธีให้ระบุตัวได้ง่าย แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือ พยายามถ่ายรูปหัวของมันใกล้ๆ แล้วเอามาเทียบกับรูปเก่า เพราะรอยสีขาวที่เห็นบนหน้าและปาก ก็เหมือนกับลายนิ้วมือของคนนั้นเอง
มังกรทะเลใบไม้มีระบบนำทางที่ยอดเยี่ยม เมื่อเกิดมาแล้วพวกมันจะไม่ไปไหนไกล แม้ว่ามังกรทะเลใบไม้จะเดินทางไปไกลจากบ้าน ที่สุดพวกมันจะกลับมายังจุดเดิม เหตุผลเดียวที่มันกลับมาจุดเดิม ก็คือ ที่อื่นแหล่งอาหารมีน้อย หรือเพื่อขยายพันธุ์ หรือสภาพอากาศแปรปรวน
กระแสนํ้าที่รุนแรงทำให้มังกรทะเลใบไม้ นํ้าหนักเบา แกว่งไกวไปมาในดกหญ้าทะเล ในสถานการณ์เช่นนี้มังกรทะเลใบไม้จะหาทางป้องกันคลื่น ซึ่งอาจจะหมายถึง ย้ายเข้าไปนํ้าลึก หรือเลือกที่จะไปอยู่ในแนวปะการังใกล้ๆ
ในการเคลื่อนไปข้างหน้ากับถอยหลัง แรงขับเคลื่อนของมังกรทะเลใบไม้ เกิดจากครีบหลังเดียวขนาดใหญ่ที่พาดไปตามข้างกระดูกสันหลัง และเพื่อเคลื่อนที่ ขึ้น-ลง เลี้ยว-หัน มังกรทะเลใบไม้จะอาศัยการเคลื่อนไหวของครีบจิ๋วโปร่งใสข้างหัว
ช่วงเดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มังกรทะเลใบไม้เพศผู้และเพศเมีย จะขยายพันธุ์ คู่มังกรทะเลใบไม้จะเคลื่อนที่ไปพร้อมๆกัน คอยจับตาดูกันอย่างใกล้ชิด ในที่สุดเมื่อเพศเมียพร้อม มันจะสร้างไข่ราวๆ 250 ฟอง ในโพรงช่วงล่าง ขนาดที่หางของเพศผู้เริ่มบวมและย่น มันเป็นปฎิกิริยาต่อการทำนํ้าเชื้อมาสู่บริเวณที่เพศเมียจะวางไข่
เพศผู้จะเคลื่อนที่ไปรอบๆเพศเมียอย่างรวดเร็ว เพื่อบอกกับเพศเมียว่ามันพร้อมที่จะรับไข่แล้ว เพศผู้จะเผยหางที่อ่อนนุ่มให้เพศเมียได้เห็นว่ามันพร้อมที่จะรับไข่ ไข่จะต้องถูกดันให้ติดผิวหนังของเพศผู้ เพื่อให้เกิดการผสมกับนํ้าเชื้อ ท่วงท่าแบบนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าการส่งไข่จะประสบความสำเร็จ
เมื่อไข่ถูกดันกดลงมาที่หางและผิวหนังจะแข็งขึ้นแถวๆส่วนล่างของไข่ ที่ช่วยยึดพวกมันให้เข้าที่ แต่หลังขบวนการนี้เสร็จสิ้น บทบาทของเพศเมียในฐานะแม่ก็จบลง มันจะไม่มีส่วนร่วมในการให้กำเนิดลูกอีกต่อไป แต่สำหรับเพศผู้ 8 สับดาห์ข้างหน้าของการฟักไข่ เป็นการเดินทางที่แสนลำบาก ไข่ราวๆ 250 ฟอง ใต้หางของมัน ช่วยในการพลางตัวได้ดี มันจะใช้เวลาซ่อนตัวลึกอยู่ในป่าของมหาสมุทรเพื่อปกป้องลูกน้อยจากนักล่า
เจ้าตัวน้อยมองออกมาจากในไข่ แล้วรอคอยโอกาสมีชีวิตอย่างอดทน สีของมันจะเข้มขึ้นอย่างช้าๆ และหลังจาก 8 สับดาห์ที่พ่อต้องคอยดููแล ไข่จะกลายเป็นสีม่วงเข้ม ลูกจะฟักตัวตลอดอีก 1 สัปดาห์ ในช่วงนี้และช่วง 2-3 สัปดาห์ต่อมาของชีวิตพวกมันจะเสี่ยงต่อนักล่ามากที่สุด
ลูกมังกรทะเลใบไม้ ส่วนใหญ่ได้ออกไปใช้ชีวิตเองตามลำพัง เพื่อเรียนรู้วิธีการล่าด้วยตัวเอง แต่ร่างกายอันบอบบางและยังไม่พัฒนาเต็มที่ทำให้พวกมันอาจตกเป็นอาหารของนักล่าได้ ลูกมังกรทะเลใบไม้มักถูกล่า จนอาจจะเหลือแค่ 5% จาก 100% จากที่ฟักออกมา กว่าจะโตเต็มที่ครบอายุ 2 ปี
หลายคนเวลาเห็น มังกรทะเลใบไม้ ก็รู้สึกน่าทึ่งและตกใจมาก เมื่อรู้ว่าพวกมันเป็นสัตว์จริงๆ จากการที่เห็นมันว่ายนํ้าได้จริงๆ กินอาหาร และตอบสนองกับคน ทำให้เรารู้ว่ามันเป็นสัตว์ที่ชีวิตจิตใจ
แม้ว่าผู้คนจะตื่นตากับ มังกรทะเลใบไม้ แต่ทว่าภัยที่ร้ายกาจที่สุดสำหรับพวกมัน ก็คือ มลพิษที่เกิดจากมนุษย์เรา การสูญเสียหญ้าทะเลริมชายฝั่งซึ่งเป็นบ้านของ มังกรทะเลใบไม้ มีผลอย่างร้ายแรง สาเหตุก็คือ นํ้าเสียที่ไหลลงไป สิ่งเหล่านี้ทำลายหญ้าทะเล ปิดกั้นแสงแดดและทำให้หญ้าไม่โตและตายพร้อมกับสัตว์ทั้งหลายที่ต้องอาศัยหญ้าทะเล
ถ้าปราศจากดงหญ้าทะเล นั้นก็หมายถึงจำนวนสัตว์มากมาย เช่น มังกรทะเลใบไม้ จะต้องตาย เพราะหญ้าทะเลสำคัญมากสำหรับมังกรทะเลใบไม้ เพราะว่า มันเป็นที่อยู่ และมังกรทะเลใบไม้มันถูกออกแบบให้มาอย่างดีเพื่อซ่อนตัวในดงหญ้าทะเล เป็นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการซ่อนตัว นอกจากนี้ยัง เป็นแหล่งอาหารที่มังกรทะเลใบไม้ชอบกินมากมาย เช่น กุ้งตัวเล็กๆ และยังช่วยรักษาชายฝั่งโดยการยึดตะกอน ทราย โคลน ไว้กับที่
ถ้าดงหญ้าทะเลหมดไป มังกรทะเลใบไม้ก็จะหายไปด้วย นั้นจะเป็นจุดจบของสายพันธุ์ มังกรทะเลใบไม้นั้นมีความพิเศษมีความสวยงามและพบแต่ในที่ที่ห่างไกลโดยเฉพาะออสเตรเลียใต้ การสูญเสียสัตว์พวกนี้ไปคงเป็นเรื่องที่น่าเศร้า
สิ่งสำคัญในการปกป้องมังกรทะเลใบไม้ ก็คือ การให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำคัญในการอนุรักษ์ที่อยู่ของมังกรทะเลใบไม้ และสัตว์นํ้าหลายชนิด
อ้างอิง | แหล่งข้อมูล | แหล่งที่มา | ผู้สอน | ผู้เรียบเรียง:รักเรียน ruk-learn.com
→ เรียนรู้ชีวิตของ มังกรทะเลใบไม้ จาก สารคดี สำรวจโลก ตอน มังกรทะเล โดย Next Step
→ ทำความรู้จักกับ มังกรทะเลใบไม้ โดย สารานุกรมเสรี