พื้นฐานชีววิทยาเบื้องต้น

วิชาชีววิทยา เป็นหนึ่งในวิชาที่ใช้สอบในการเข้ามหาวิทยาลัย เป็นวิชาที่เนื้อหาแน่น ศัพท์เยอะ จำยาก เป็นวิชาแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ศึกษาในทุกแง่มุมของสื่งมีชีวิต ทั้ง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน

2 ผู้บุกเบิกวิชา ชีววิทยา

ฌอง แบพติสท์ เดอ ลามาร์ก (Jean baptiste de lamarck) เป็นนักสัตววิทยา ชาวฝรั่งเศส
ลูโดล์ฟ คริสเตียน เทรวิรานุส (Ludolph Christian Treviranus) นักพฤกษศาสตร์ ชาวเยอรมัน

วิชาชีววิทยาเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1801

2 คนนี้ ได้กำหนดคำว่า ชีววิทยาขึ้นใน ค.ศ. 1801

คำว่า ชีววิทยา มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ

bios = ชีวิต (life)
logos = ความคิดและเหตุผล (reasoning)
เมื่อเอาคำ 2 คำนี้มีรวมกันจะได้  Biology

Biology ชีววิทยา คือ การศึกษาสิ่งมีชีวิตอย่างมีเหตุมีผล

วิชาชีววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของ วิชาวิทยาศาสตร์

วิชา ชีววิทยา มีวิชาย่อยหลายแขนง โดยแบ่งไปตามกลุ่มสิ่งมีชีวิต

Zoology สัตววิทยา
Entomology : กีฏวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับแมลง แมลงเป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดในโลก ซึ่งแมลงจะมีลักษณะเด่น คือ มีหัว อก ท้อง ขา 6 ขา และหนวด 1 คู่
Ichthyology : มีนวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับปลา ปลามี 2 แบบ คือ ปลากระดูดอ่อน และ ปลากระดูกแข็ง
Botany : ชีววิทยาของพืช ศึกษาเกี่ยวกับ พฤษศาสตร์ พืชมีหลายชนิด
Agrostology : ตฤณวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับ หญ้า
Dendrology : รุกขวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับ ไม้ยืนต้น พันธุ์ไม้มี 3 ประเภท
1.ไม้ล้มรุก ขนาด เตี้ยกว่า 120 เซนติเมตร
2.ไม้พุ่ม สูง 120-300 เซนติเมตร
3.ไม้ยืนต้น สูง 300 เซนติเมตร ขึ้นไป
Microbiology : จุลชีววิทยา การศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
Virology : ไวรัสวิทยา
bacteriology : แบคทีเรียวิทยา

คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตต่างกันอย่างไร

คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์
การสีบพันธุ์ คือ เพิ่มจำนวน ถ้าเพิ่มจำนวนไม่ได้ เราจะไม่เรียกว่าการสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์มี 2 แบบ คือ
1. สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ลูกที่เกิดมาจะมีหน้าตาไม่เหมือนพ่อแม่ เรียกว่่า การแปรผันทางพันธุกรรม
2. สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ลูกจะเหมือนพ่อแม่หรือแยกไม่ออก

– สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารและพลังงาน
ร่างกายต้องการอาหารเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน เราเรียกว่า Heterotrophs(เฮเทโรทรอพ) ผู้บริโภคในห่วงโซ่อาหาร เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ซึ่งแตกต่างกับพวก Autotrophs(ออโตทรอพ) หรือพวกพืชที่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องการแค่แหล่งพลังงานหรือแหล่งคาร์บอนที่มาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือไบคาร์บอเนตก็สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร

– สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโต มีอายุขัยและขนาดจำกัด
เซลล์ ที่เกิดจากการรวมกันของเซลล์เพศสองเซลล์ เรียกว่า Zygote

– สิ่งมีชีวิตมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
เช่น หน้าร้อนจะรู้สึกร้อนและเหงื่อออก ฯลฯ แต่พืชบางชนิด สามารถตอบสนองได้ เช่น ไมยราบ แต่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต เพราะ พืชตอบสนอง เรียกว่า การเคลื่อนไหว เนื่องจากไม่มีระบบประสาท

– สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
เช่น หน้าหนาว อุณหภูมิตํ่า อากาศหนาวเราจึงใส่เสื้อให้หนาขึ้น เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายอุ่นขึ้น

– สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ
เช่น Euglena เป็นโปรตัวซัวไม่ใช่สัตว์ มีลักษณะเป็นเซลล์เดียว จุดเด่นมี Chloroplast(คลอโรพลาสต์) สามารถสังเคราะห์แสงได้

– สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบ
สิ่งมีชีวิตต้องมีการจัดระบบ เรียกว่า Organization(ออแกไนซ์ เซชั่น) เริ่มจาก cell(เซลล์) → tissue(เนื้อเยื่อ) → organ(อวัยวะ) → organ system(ระบบอวัยวะ) → organism(สิ่งมีชีวิต)

แบบฝึกหัด

1. ชีววิทยา (Biology) เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใด
1.) ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
2.) ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและกระบวนการศึกษา
3.) ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตและกระบวนการศึกษา
4.) ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่ในระบบนิเวศทั้งหมด

2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ลักษณะของสิ่งมีชีวิต
1.) reproduction
2.) specific organization
3.) sensitivity
4.) stress and strain

3. การศึกษาสาขาวิชาใดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพืชที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมได้สำเร็จในปัจจุบัน
1.) evolution
2.) morphology
3.) genetic engineering
4.) bacteriology

ทำไมตัวเงินตัวทองในสวนสัตว์เขาดิน จึงกินอาหารน้อยกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว?
สัตว์เลื้อยคลาน ตัวเงินตัวทอง หรือ Varanus salvator เป็นสัตว์เลือดเย็น สัตว์เลือดเย็น คือ สัตว์ที่สามารถเปลี่ยนอุณหภูมิตามสภาพแวดล้อมได้ เมื่ออาการเย็นตัวเงินตัวทอง จะอยู่นิ่งๆไม่ขยับไปไหนจึงทำให้ไม่ได้ใช้พลังงานมาก การที่สัตว์เลือดเย็น อยู่นิ่งๆ เพื่อลดปริมาณ metabolism เพื่อปรับอุณหภูมิร่างกาย เรียกว่า การหนีหนาว

วิธีการจัดลำดับของไฟลัมให้จำง่าย?
เรียงจากใหญ่ ไปหา เล็ก

Domain ↓
Kingdom ↓
Phylum ↓
Class ↓
Order ↓
Family ↓
Genus ↓
Species

นักอนุกรมวิธานมีหน้าที่อะไร
นักอนุกรมวิธานทำอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ 1.จัดจำแนก 2.ตั้งชื่อ 3.ระบุชนิด



สอนโดย : ครูพี่วา