ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม

จุดเริ่มต้นของศาสนาเกิดจาก ความไม่รู้ → ไปสู่ความกลัว → จึงเกิดศาสนา
มีศาสนา → ศาสดา → คำสอน → นักบวช → ศาสนสถาน → ศาสนพิธี
ศาสนามี 2 ประเภท อเทวนิยม กับ เทวนิยม(เทวนิยมมีแยกเป็น เอกเทวนิยม พหุเทวนิยม)

พราหมณ์-ฮินดู
พระเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมี 3 องค์ เรียกว่า ตรีมูรติ
ตรีมูรติ
1. พระพรหม – ผู้สร้าง
2. พระวิษณุ – ผู้รักษา
3. พระศิวะ – ผู้ทำลาย

พิธีกรรม
1. พิธีศราทธ์ – การบูชาบรรพบุรุษ
2. พิธีสังสการ(หรือพิธีกรรมประจำบ้าน) – พิธีที่จัดขึ้นในช่วงต่างๆ ของชีวิต มีอยู่ 12 ประการ

คัมภีร์
1. คัมภีร์ศรุติ รับจากพระเจ้าโดยตรง ที่สำคัญคือ “พระเวท”
1) ฤคเวท บทเพลงสวดสรรเสริญอ้อนวอนพระเจ้า
2) ยชุรเวท การบูชาเทพเจ้า
3) สามเวท พิธีถวายนํ้าโสมแด่พระอินทร์
4) อาถรรพเวท เวทมนต์และอาถาอาคม

2. คัมภีร์สมฤติ มนุษย์สร้างขึ้น เช่น พระธรรมศาสตร์ ปุราณะ

ศาสนาคริสต์
ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
– ศีลล้างบาป
– ศีลกำลัง
– ศีลมหาสนิท(มิสซา)
– ศีลแก้บาป
– ศีลเจิมคนไข้
– ศีลบวช
– ศีลสมรส

หลักธรรมเรื่องความรัก
ระดับที่ 1 ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
ระดับที่ 2 ความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

หลักบัญญัติ 10 ประการ
1. อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา
2. อย่าทำรูปเคารพสำหรับตนหรือกราบไหว้รูปเหล่านั้น
3. อย่าเอ่ยพระนามพระเจ้าเล่นๆ
4. จงระลึกถึงวันสะบาโต และรักษาเป็นวันบริสุทธิ์
5. จงนับถือบิดามารดาของเจ้า
6. อย่าฆ่าคน
7. อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา
8. อย่าลักทรัพย์
9. อย่าเป็นพยานเท็จ
10. อย่าโลภสิ่งใดๆ ที่เป็นของเพื่อนบ้าน

ตรีเอกานุภาพ
พระบิดา พระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่ง
พระบุตร พระเยซูผู้ไถ่บาปทั้งมวลของมนุษย์
พระจิต พระเจ้าในฐานะที่ปรากฎทางจิตวิญญาณของมนุษย์ คอยกระตุ้นให้มนุษย์ทำความดี

ศาสนาอิสลาม
หลักศรัทธา 6 ประการ
1. ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า
2. ศรัทธาในเทวทูต (มลาอีกะห์)
3. ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน
4. ศรัทธาในศาสนทูต (รอซูล)
5. ศรัทธาในวันพิพากษา (กิยามะห์)
6. ศรัทธาต่อกฎกำหนดสภาวการณ์

หลักปฎิบัติ 5 ประการ
1. การปฎิญาณตน
2. การละหมาด
3. การถือศีลอด
4. การบริจาคซะกาต
5. การประกอบพิธีฮัจญ์

ลองทำแบบฝึกหัด
1. องค์ประกอบที่มีปรากฎอยู่ในศาสนาสำคัญในปัจจุบันคือข้อใด
1. ศาสดาและนักบวช
2. รูปเคารพและศาสนสถาน
3. ศาสนาและหลักคำสอน
4. นักบวชและศาสนพิธี
   5. ศาสนพิธีและคำสอน

2. ข้อใดไม่ตรงกับคำสอนของศาสนาพราหมณ์
1. การเอาใจใส่เรียนหนังสือเมื่ออยู่ในวันเล่าเรียน
2. การแต่งงานมีครอบครัวหลังจากผ่านวัยศึกษาเล่าเรียนแล้ว
   3. การมีบุตรเมื่อมีฐานะพร้อม
4. การแสวงหาความวิเวกและฝึกจิตให้บริสุทธิ์
5. การสละบ้านเรือนออกบวชเมื่อแก่ชรา

3. พิธีกรรมประจำบ้าน 12 ประการ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือพิธีใด
1. พิธีศารทธ์
   2. พิธีสังสการ
3. พิธีบูชาเทวดา
4. พิธีประจำวรรณะ
5. พิธีสตี

4. “โอม” หมายถึงอะไรในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
   1. ตรีมูรติ
2. คัมภีร์พระเวท
3. พิธีกรรมของฮินดู
4. พระนารายณ์และพระลักษมี
5. เทพเจ้าทั้งหมดของพราหมณ์

5. การแบ่งชนชั้นในระบบวรรณะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าเป็นการจำแนกด้านใด
1. ภาษา
   2. อาชีพ
3. ถิ่นที่อยู่
4. เชื้อชาติ
5. การแต่งกาย

6. ชาวมุสลิมไม่เชื่อเรื่องใด
1. โลกมีวันสิ้นสุด
2. เทวทูตมีจำนวนมาก
3. ศาสนทูตมีหลายท่าน
   4. การตายแล้วเกิดใหม่บนโลกมนุษย์
5. อัลกุรอานเป็นโองการโดยตรงของพระเจ้า

7. ชาวมุสลิมเชื่อว่าคัมภีร์อัลกุรอาน คืออะไร
   1. บันทึกพระวจนะของพระเจ้า
2. บันทึกคำสอนของพระศาสดามูฮัมหมัด
3. บันทึกประวัติศาสตร์ทางศาสนาของชาวมุสลิม
4. บันทึกความเชื่อและพิธีกรรมของชาวมุสลิม
5. บันทึกคำสอนของศาสนทูต

8. การถือศีลอดในศาสนาอิสลามมีจุดประสงค์หลักเพื่ออะไร
1. เพื่อฝึกให้ประหยัดอดออม
   2. เพื่อให้เห็นใจคนที่ขาดแคลน
3. เพื่อเป็นการบูชาพระเจ้า
4. เพื่อให้จิตใจแข็งแกร่ง
5. เพื่อฝึกความอดทน

9. การให้ทานแก่คนขัดสนและเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นตามหลักปฎิบัติของศาสนาอิสลาม จัดอยู่ในข้อใด
1. พิธีฮัจญ์
2. การปฎิญาณตน
3. ละหมาด
4. ศีลอด
   5. ซะกาต

10. คำว่า “พระจิต” ในหลักศาสนาคริสต์มีความหมายอย่างไร
1. พระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่ง
2. พระเยซูผู้มีจิตอันเข้มแข็งทรงเกื้อหนุนให้มนุษย์มีพลังใจ
   3. พระเจ้าในฐานะที่ปรากฎทางจิตวิญญาณของมนุษย์คอยกระตุ้นให้มนุษย์ทำความดี
4. จิตของมนุษย์ที่เปี่ยมด้วยความรักอันยิ่งใหญ่อันเกิดจากเจตจำนงเสรี
5. จิตใจที่มีเหตุผล มีความเสียสละอันเป็นผลมาจากการนมัสการและการภาวนา

สนธิสัญญาบาวริ่ง มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้ทำการค้าได้โดยเสรี ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าแทรกแซง
2. ให้ยกเลิกภาษีปากเรือและเก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยละ 3 และสินค้าออกเก็บตามพิกัดที่ได้กำหนดไว้
3. อนุญาตให้ข้าวเป็นสินค้าออกได้ และอนุญาตให้นำฝิ่นเข้ามาจำหน่ายให้แก่เจ้าภาษีฝิ่น
4. ยอดให้คนในบังคับต่างชาติขึ้นศาลกงสุลของชาตินั้น ถ้าคู่ความเป็นคนในบังคับให้ฝ่ายไทยเข้าร่วมพิจารณาคดีด้วย
5. ไม่กำหนดอายุสิ้นสุดของสัญญา และแก้ไขได้เมื่อทั้งสองฝ่ายทำความ

การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากราคา
การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ


ศาสนาพุทธ
อนุตรสัมมาโพธิญาณ
1. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ – ระลึกชาติ
2. จุตูปปาตญาณ  – รู้เหตุอนาคต
3. อาสวักขยญาณ – อริยสัจ 4

เทศนาที่สำคัญ
ปฐมเทศนา ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร
ปัจฉิมโอวาท ความไม่ประมาท
โอวาทปาฎิโมกข์(หัวใจของพระพุทธศาสนา) ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

พระไตรปิฎก
1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีล
2. พระสุตตันปิฎก ว่าด้วยพระสูตรหรือเทศนาทั่วๆไป
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรม วิชาการล้วนๆ

อริยสัจ 4
1. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
– สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำ ทุกข์ตามสภาพ ได้แก่ เกิดแก่ตาย
– ปกิณณกทุกข์ ทุกข์จร ได้แก่ ความโศกเศร้า ความไม่สบายกาย/ใจ

2. สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา
– กามตัณหา ความอยากในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
– ภวตัณหา ความอยากเป็น
– วิภวตัณหา ความไม่อยากเป็น

3. นิโรธ ความดับทุกข์ คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ

นิโรธ 5 หมายถึง ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้นนิโรธเป็นธรรมะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้นิโรธ มี 5 ประการ โดยมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น

ปหาน 5 (การละกิเลส 5 ประการ)
วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น 5 ประการ)
วิเวก 5 (ความสงัด ความปลีกออก 5 ประการ)
วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด ความสำรอกได้ 5 ประการ)
โวสสัคคะ 5 (ความสละ ความปล่อย 5 ประการ)

นิโรธ 5 ได้แก่
1. วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌานขึ้นไป ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
2. ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
3. สมุจเฉทนิโรธ ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ
4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้น ชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ
5. นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน

4. มรรค หนทางดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
– สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
– สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
– สัมมาวาจา เจรจาชอบ
– สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
– สัมมาวายามะ พยายามชอบ
– สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
– สัมมาสติ ตั้งสติชอบ
– สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

อริยมรรคมีองค์ 8 รวมเป็นคำสอนแบบย่อได้เป็น ไตรสิกขา
ศีล สัมมาวาจา ,กัมมันตะ, อาชีวะ
สมาธิ สัมมาสติ, สมาธิ,วายามะ
ปัญญา สัมมาทิฐิ , สังปัปปะ

หลักธรรมที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง

ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 ประโยชน์ที่เห็นได้ในปัจจุบัน (หัวใจเศรษฐี)
1. อุฏฐานสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความหมั่นขยันหาทรัพย์
2. อารักขสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์
3. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีเพื่อนดี
4. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตพอเหมาะ พอดี

สัปปุริสธรรม 7 ธรรมสำหรับคนดี
1. ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ
2. อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล
3. อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตนเอง
4. มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ
5. กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
6. ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชน
7. บุคลโลปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล

แบบฝึกหัด
1. หลักธรรมในข้อใดเกี่ยวข้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงน้อยที่สุด
   ก. อักโกธะ
   ข. สมชีวิตา
   ค. ธัมมัญญุตา
   ง. มัตตัญญุตา
   จ. มัชฌิมาปฏิปทา

2. พระพุทธเจ้าทรงบรรลุญาณใด ที่ทำให้ตรัสรู้อริยสัจ 4
   ก. ปุพเพนิวาสานุสสติ
   ข. จุตูปปาต
   ค. อาสวักขย
   ง. อานาปานสติ
   จ. พุทธานุสสติ

อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ พระญาณอันยอดเยี่ยมที่มีไว้เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณะคือการคิดแบบใด
   ก. มัชฌิมาปฏิปทา
   ข. ไตรลักษณ์
   ค. ไตรสิกขา
   ง. อริยสัจ
   จ. ขันธ์ 5

ไตรลักษณ์ ลักษณะสามัญ 3 ประการ
– อนิจตา ความไม่เที่ยงแท้ ไม่แน่นอน
– ทุกขตา สภาพที่ทนได้ยาก
– อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (เอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา)

4. คำว่า “สังขาร” ในขันธ์ 5 หมายถึงข้อใด
   ก. ร่างกายของมนุษย์
   ข. ความรู้สึกสุข ทุกข์ เป็นกลาง
   ค. การกำหนดรู้เพื่อแยกแยะกายและจิต
   ง. แรงจูงใจที่ผลักดันให้มนุษย์กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
   จ. การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย

5. อุดมมีความขยันหมั่นเพียร ประหยัด คบเพื่อนที่ดี และเลี้ยงชีพตามกำลังทรัพย์ อุดมปฎิบัติตามธรรมข้อใด
   ก. โลกธรรม
   ข. พรหมวิหาร
   ค. ทิฏฐธัมมิกัตถะ
   ง. สัปปุริสธรรม
   จ. อิทธิบาท

6. ศาสนพิธีใดไม่มีการเจาะจงพระภิกษุผู้รับ
   ก. ทอดกฐิน
   ข. ถวายผ้าอาบนํ้าฝน
   ค. ถวายสังฆทาน
   ง. ถวายผ้าจำนำพรรษา
   จ. ถวายผ้าป่า

7. วันใดคือวันพระธรรม
   ก. มาฆบูชา
   ข. วิสาขบูชา
   ค. อัฏฐมีบูชา
   ง. ธรรมสวนะ
   จ. อาสาฬหบูชา


สอนโดย : ครูพี่เมฆ


ตื่นมาติว Admission สังคมศึกษา EP.1 – ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ตอน 1
ตื่นมาติว Admission สังคมศึกษา EP.2 – ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ตอน 2 จบ

นวนิยาย ดวงใจเทวพรหม ลดราคาทุกเล่ม มีฉบับพิเศษด้วยนะ
นวนิยาย ดวงใจเทวพรหม ลดราคาทุกเล่ม มีฉบับพิเศษด้วยนะ

รวมหนังสือ นวนิยาย ดวงใจเทวพรหม ครบทุกเรื่อง นวนิยายโรแมนติกพีเรียดที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ดึงดูดใจนวนิยายสำหรับคนที่มีรักแท้ชอบความโรแมนติก อบอุ่น ผู้ที่คิดว่า ความรักแท้สามารถเอาชนะทุกอุปสรรคได้ และแฟนคลับนักอ่าน จาก นวนิยายชุด สุภาพบุรุษจุฑาเทพอ่านต่อ