สระในภาษาไทย

เราจะมาศึกษาในระบบเสียงในภาษา ซึ่งวันนี้เราจะมาเจาะลึกในหัวข้อ “สระ”
สระ คือ องค์ประกอบหนึ่งที่อยู่ในเสียงทุกเสียง คำทุกคำที่เราพูดออกมา หรือ คิดในใจ มันต้องมีสระประกอบอยู่ สระที่ประกอบอยู่ มันอาจจะมีรูปหรือไม่มีรูป
ยกตัวอย่าง
ดุ แยกออกมา ด +  ุ
ด เรียกว่า พยัญชนะต้น
ุ เรียกว่า สระ

   สระในภาษาไทยมีทั้งหมด 21 รูป 21 เสียง
รูปสระ เป็นเครื่องหมายที่เขียนขึ้นแทนเสียงสระ โดยใช้เขียนโดดๆ หรือใช้เขียนประกอบกับรูปสระอื่นเพื่อให้เกิดสระใหม่ มี 21 รูป ดังนี้

1. ะ(สระอะ)   เรียก   วิสรรชนีย์
2. -า(สระอา)  เรียก   ลากข้าง
3.   ิ(สระอิ)   เรียก   พินทุ์อิ
4.   ํ   เรียก   หยาดนํ้าค้าง หรือ นฤคหิต,นิคหิต
5.  ุ (สระอุ)   เรียก   ตีนเหยียด
6.  ู (สระอู)   เรียก   ตีนคู้
7. เ-   เรียก   ไม้หน้า/สระเอ
8. โ-   เรียก   ไม้โอ
9. ไ-   เรียก   ไม้มลาย
10. ใ-   เรียก   ไม้ม้วน
11. ‘   เรียก   ฝนทอง
12. ”   เรียก   ฟันหนู
13.   ็  เรียก   ไม้ไต่คู้
14.   ั เรียก   ไม้หันอากาศ , ไม้ผัด
สระ 4 รูปนี้มาจากภาษาสันสกฤต
15. ฤ   เรียก   ตัวรึ
16. ฤๅ   เรียก   ตัวรือ
17. ฦ   เรียก   ตัวลึ
18. ฦๅ   เรียก   ตัวลือ
19. -อ   เรียก   ตัวออ
20. -ว   เรียก   ตัววอ
21. -ย   เรียก   ตัวยอ

ตัว -ว และ -ย  จุดนี้สำคัญ
ตัวอย่างคำว่า
กลัว – เที่ยว
ตัว -ว ต่างกัน เพราะว่า
กลัว   ัว มันคือรูปสระ ซึ่งมี 2 รูป
เที่ยว -ว คือตัวสะกด รูปสระมี (เ   ิ ‘ ย) มี 4 รูป

แบบฝึกหัด ลองถอดรูปสระของคำต่อไปนี้
1. ปิ    ิ   มี 1 รูป 
2. ปี    ี ‘   มี 2 รูป
3. เปรื่อง   เ   ิ ” อ   มี 4 รูป
4. เปรี้ยว   เ   ิ ‘ ย   มี 4 รูป
5. เลอะ   เ-อะ   มี 3 รูป

   เสียงสระ เสียงสระในภาษาไทยมี 21 เสียง
แบ่งเป็น
1. สระเดี่ยว(สระแท้) มี 18 เสียง แบ่งเป็นเสียงสั้น – ยาว ได้ 9 คู่ (เป็นคู่สระกัน)

สระเสียงสั้น(รัสสระ)สระเสียงยาว(ทีฆสระ)
อะอา
อิอี
อึอือ
อุอู
เ-ะเ-
แ-ะแ-
โ-ะโ-
เ-าะ-อ
เ-อะเ-อ

ตัวอย่างเช่น คำว่า รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ มีกี่พยางค์ แล้วแต่ละพยางค์ออกเสียงสระอะไรบ้าง
(รัด – ถะ – ทำสระ  ำ เป็นสระเกิน แต่ อ-ะ-ม อำ ฉะนั้นมันก็คือ ะ) – มะ – นูน  ู )

2. สระผสม มี 3 เสียง คือ เอีย เอือ อัว

เอีย ออกเสียง อี+อา
เอือ ออกเสียง อือ+อา
อัว ออกเสียง อู+อา

เช่น คำว่า บ๊วย

3. สระเกิน มี 8 เสียง คือสระที่มีพยัญชนะผสมอยู่ และสิ่งเหล่านี้มันก็ซํ้าในสระเดียวด้วย

สระจริงคือสระ -ะ มีพยางค์ที่มีเสียงเป็นตัวสะกด เราเรียกว่าเป็น”พยางค์ปิด” คือเวลาเราพูด มันปิดหน่วยเสียง เช่น เอา เขา เรา ส่วน”พยางค์เปิด” เช่น พูดว่า -า ไม่มีเสียงตัวสะกด กาาาาาาาาาาา… คือมันเปิดไปเรื่อยๆ
อำ ออกเสียง อ-ะ-ม 
ไอ-ใอ ออกเสียง อ-ะ-ย 
เอา ออกเสียง อ-ะ-ว

สระจริง คือ   ึ   ื
ฤ  ออกเสียง ร  ึ
ฤๅ ออกเสียง ร  ื
ฦ ออกเสียง ล  ึ
ฦๅ ออกเสียง ล  ื

1. สระสั้น – ยาว ส่งผลต่อความหมาย 

สั้นยาว
วันนี้วานนี้
สัมพันธ์สามพันธุ์ , สามพัน
เข้าเช้าข้าวเช้า

2. การอ่านออกเสียงสระไม่ตรงกับรูป
ปกติรูปสระยาว จะออกเสียงยาว
รูปสระสั้น จะออกเสียงสั้น
แต่บางคำจะออกเสียงสระไม่ตรงกับรูปสระ
เราต้องหัดอ่านออกเสียงมากๆให้คล่องและอ่านให้ถูกต้อง เพื่อให้รู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร เช่น
ท่
ร่ยหรอ
ท้องร่
กราบหว้
พชร
อิเหนา
กิโล
ลีนิก
มพิวเตอร์

3. รูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่น
ยาธาตุ
พยาธิ
ญาติ
ประวัติ
เหตุ
เกตุ
ชาติ
มาตุ
เมรุ

ประเภทของรูปสระ

การลดรูป
ณ ธ พณ

กง คน ขน
กร จร บ่ ธร
วอกแวก ล่อกแล่ก
เขย เสย เฮย เชย

พวก ปลวก จวก
สวน
ควน ทวน ชวน สวย
การลดรูป คือ ไม่เห็นสระ หรือสระซ่อนอยู่
การเปลี่ยนรูป
กัน มัน ตัน ดัน ปัน
เด็ก เป็ด เข็ด เสร็จ
แข็ง แท็งก์

น็อก ล็อก ช๊อก ก็
เกิน เขิน เดิน เชิญ
เลิ่กลั่ก เปิ่น เงิน
การเปลี่ยนรูป คือ การเปลี่ยนรูปของสระ
การคงรูป
จะ คะ นะ
เตะ เละ
แกะ แคะ แตะ
โปะ โละ โต๊ะ
จอ รอ ขอ
เกาะ เฉาะ เลาะ
เธอ เทอญ เจอ
เถอะ เลอะ เขรอะ
ผัวะ
กลัว บัว มัว
การคงรูป คือ ออกเสียงยังไงสระก็เขียนแบบนั้น

ลองทำแบบฝึกหัด

1. ข้อใดออกเสียงสระเหมือนกันทุกคำ
1) เสา   สาว (-ะ า)
2) เรา   เกล้า (-ะ า)
3) ไหว  ใบ (-ะ -ะ) √
4) แฟ้ม  แน่น (แ แ-ะ)

2. ข้อใดประกอบด้วยสระที่ออกเสียงสั้นทั้งหมด
1) ไปเอานํ้าให้กินหน่อยได้ไหม
2) ท่านแนะให้คุณไปขุดร่องมันฝรั่ง √
3) คนกินเหล้าเก้าสิบคนจะเป็นอะไรไหมครับ
4) เด็กที่เกล้าผมคนนั้นตื่นเช้าจริงๆ

3. ข้อใดมีเสียงสระของทุกพยางค์เป็นสระเดี่ยว
1) มีพี่น้องสองสาวในเกียวโต
2) อาวุโสยี่สิบสองยี่สิบห้า √
3) อันทหารฆ่าศัตรูด้วยศัสตรา
4) สองกัลยาฆ่าชายม้วยด้วยเนตรเธอ

4. ข้อใดแต่ละพยางค์เป็นสระประสม
1) พวกเราควรร่วมมือช่วยเหลือเสี่ยกวง
2) เสียงวัวตัวเมียร้องเรียกผัว
3) ชวนกลัวเสือเตี้ยวเหยียบหัว √
4) ตั้วเฮียคั่วถั่วแระเพื่อเจ้าสัว

5. ข้อใดมีคำที่ประสมสระเดี่ยวสั้นมากที่สุด(ไม่นับเสียงซํ้า)
1) ยิ้มกันวันละนิดจิตแจ่มใส   (   ิะ แ-ะ)
2) ครอบครัวคือกำแพงแห่งชีวิต (ะ แ-ะ   ิ )
3) ขับรถถูกกฎช่วยลดอุบัติเหตุ (ะ โ-ะ  ุ  ิ) √
4) อย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่านํ้า (ะ โ-ะ)

สอนโดย : พี่ กอล์ฟ วรธน อนันตวงษ์


สอนศาสตร์ ม.ปลาย ภาษาไทย สระในภาษาไทย