ฝึกเรียนสะกดและเขียนชื่อเป็นอังกฤษ

เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ในเรื่อง ฝึกเขียนชื่อเป็นอังกฤษ ทำให้เราคุ้นเคยกับตัวอักษรและการสะกดคำ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่ไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ การฝึกเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษนั้นมีประโยชน์มาก ในชีวิตประจำวันหรือการทำงานของเรา เพราะการมีทักษะนี้จะช่วยให้เราสื่อสารและติดต่อกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รู้จักกับพยัญชนะโดยการเทียบอักษร ไทย-อังกฤษ สระเดี่ยวในภาษาอังกฤษ ใช้เทียบสระในภาษาไทย สระผสมในภาษาอังกฤษ ใช้เทียบสระในภาษาไทย  เรียนรู้คำศัพท์และประโยคในภาษาอังกฤษ , ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย ลักษณะของกฎหมาย ความสำคัญของกฎหมาย ประเภทของกฎหมาย ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย พร้อมพร้อมทดสอบหลังเรียน


เรียนวิชาภาษาอังกฤษ คาบเช้า


อักษรภาษาอังกฤษ

อักษรในภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 26 ตัว

A เอ
B บี
C ซี
D ดี
E อี
F เอฟ
G จี
H เอช
I ไอ
J เจ
K เค
L เอล
M เอ็ม
N เอ็น
O โอ
P พี
Q คิว
R อาร์
S เอส
T ที
U ยู
V วี
W ดับเบิ้ลยู
X เอ๊กซ์
Y วาย
Z เซ็ด
อักษรภาษาอังกฤษ 26 ตัว

อักษรในภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 26 ตัว แบ่งเป็น

พยัญชนะ 21 ตัว
B C D F G H J K L M N
P Q R S T V W X Y Z

และสระ 5 ตัว
A E I O U

รู้จักกับพยัญชนะโดยการเทียบอักษร ไทย-อังกฤษ

*(ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์   ่  ้  ๊  ๋)
*(สะกดตามคำอ่าน เขียนให้เป็นคำอ่านก่อน แล้วค่อยสะกดเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ปัญญา สะกดเป็น ปัน-ยา)

พยัญชนะ ก , ข , ค

ก = G , K
ข = kh (ใช้คู่กัน)

ค = K (บางคำก็จะใช้ตัว C ก็ได้)

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

ไก่ = Kai 
K = ก
ai = ไ

หรือบางทีก็จะเขียนว่า Gai 

ขอนแก่น = Khon Kaen
Kh = ข
o = สระออ
n = น

K = ก
ae = สระ แ
n = น

คิด = Kid
K = ค
i =     ิ
d = ด


พยัญชนะ ง , จ , ฉ,ช

ง = ng
จ = J
ฉ,ช = ch , sh

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

งาม = Ngam
Ng = ง
a =   า
m = ม

จิต = Jit
J = จ
i =   ิ
t = ต

ชิด = Chid
Ch = ช
i =   ิ
d = ด


พยัญชนะ ซ , ญ , ด

ซ = Z , …ce
ญ = Y
ด = D

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

แซ่บ = Zab
Z = ซ
a = แ
b = บ

ญาญ่า = Yaya
Y = ญ
a =   า

ดำ = Dum
D = ด
um =   ำ


พยัญชนะ ต , ถ,ท , ธ , ณ,น

ต = T
ถ,ท = T
ธ = th
ณ,น = N

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

ต่าย = Tai
T = ต
ai = สระอาย าย

หรือจะเป็น Tay ก็ได้
T = ต
a =   า
y = ย

ทิว = Tiw
T = ท
i =    ิ
w = ว

ธนา = Thana
Th = ธ
a =    ะ
n = น
a =    า


พยัญชนะ บ , ป , ผ,พ 

บ = B
ป = P
ผ,พ = P

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

บัว = Bua
B = บ
ua =   สระอัว  ัว

ปัญญา = Panya
P = ป
a =   ั
n = น
y = ย
a  =  า

ผึ้ง = Peung / Pheung
P = ผ
eu =   ึ
ng = ง

พา = Pa
P = พ
a =   า


พยัญชนะ ฟ , ภ , ม

ฟ = F , Ph
ภ = Ph
ม = M

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

ฟ้า = Fah
F = ฟ
ah =   ้า

ภูมิ = Phum / Poom
Ph = ภ
u , oo =   ู
m = ม

มณี = Manee
M = ม
a =   ะ
n = น
ee =   ี


พยัญชนะ ย , ร , ล

ย = Y
ร = R
ล = L

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

ยิ้ม = Yim
Y = ย
i =   ิ
m = ม

ริน = Rin
R = ร
i =   ิ
n = น

ลัดดา = Ladda
L = ล
a =   ั
d = ด
d = ด
a =  า


พยัญชนะ ว , ษ , ส , ศ

ว = W , V
ษ = S
ส = S
ศ = S

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

วีณา = Weena / Vena
W , V = ว
ee =   ี
n = น
a =  า

สุนทรีย์ = Sunthree / Suntree
S = ส
u =  ุ
n = น
th = ท
r = ร
ee =   ี


พยัญชนะ ห , อ , ฮ

ห = H
อ = A , O
ฮ = H

ตัวอย่างชื่อภาษาไทย

หาดใหญ่ = Hat Yai / Had Yai
H = ห
a = า
t = ท
Y = ย
ai =  ใ

อ้อย = Aoy
A = อ
o = สระออ
y = ย

ฮาน่า = Hana
H = ฮ
a =  า
n = น
a =  า


ก = K , G ข = kh
ค = K ง = ng
จ = J ฉ,ช = ch , sh
ซ = Z , …ce ญ = Y
ด = D ต = T
ถ,ท = T ธ = th
ณ,น = N บ = B
ป = P ผ = P
พ = P ฟ = F , ph
ภ = ph , P ม = M
ย = Y ร = R
ล = L ว = W , V
ส , ษ , ศ = S ห = H
อ = A , O ฮ = H
สรุปการเทียบอักษรไทยเป็นอักษรอังกฤษ ใช้สำหรับเอาไปหัดท่องจำ

สระเดี่ยวในภาษาอังกฤษ ใช้เทียบสระในภาษาไทย มีอะไรบ้าง
สระในภาษาอังกฤษมีเพียง 5 ตัว คือ A ,E ,I ,O ,U ดังนั้นจึงใช้เทียบสระในภาษาไทยได้หลายตัว

A = สระ อะ , อา , แอ ,   ั
E = สระเอ๊ะ , เอ ,  อี

I = สระอิ , ไอ
O = สระ ออ , โอ
U = สระอุ , อู ,  ั

สระผสมในภาษาอังกฤษ ใช้เทียบสระในภาษาไทย มีอะไรบ้าง

Ae = สระ แอะ , แอ
ee = สระอี
ai = สระ อัย , ไอ , อาย
oo = สระ อุ , อู
ua = สระ อัวะ , อัว , เอือ
oi = สระ ออย , โอย
ao = สระ อาว 


เรียนวิชาภาษาอังกฤษ คาบบ่าย

ฝึกท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานทั่วไป พร้อมคำอ่านและคำแปล เราจะสามารถที่จะฝึกพูดและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย

คำศัพท์/คำอ่าน คำแปล
1. Afraid / อะเฟรด รู้สึกกลัว หรือกังวล
2. Betrayed / บิเทรดุ รู้สึกถูกทรยศ ถูกหักหลัง
3. Comfortable / คัมฟทะเบิล สบายๆ
4. Determined / ดิเทอร์ มินดุ มุ่งมั่น ตั้งใจ
5. Empty / เอมที่ รู้สึกว่างเปล่า
6. Frantic / แฟรน ทิค หวาดกลัว ลนลาน
7. Gleeful / กลี ฟูล ยินดี
8. Hate / เฮท เกลียด
9. Joyous / จอย เอิส รู้สึกสนุก
10. Kind / ไคด์ รู้สึกเมตตา
11. Lost / ลอสท์ สิ้นหวัง
12. Overjoyed / โอเว่อร์จอยด์ ดีใจเหลือเกิน
13. Proud / พราวด์ ภูมิใจ
14. Sad / แซด เศร้า
15. Upset / อัพเสท รู้สึกอารมณ์เสีย
16. Wonderful / วันเดอฟูล รู้สึกดีเยี่ยม ยอดเยี่ยม
ฝึกท่องจำคำศัพท์อย่างน้อย 16 คำ

ฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าเราอยากจะฝึกพูดภาษาอังกฤษให้คล่องต้องหมั่นฝึกท่องวันละนิด เพื่อให้จดจำ

ประโยค / คำอ่าน คำแปล
1. Let me see. / เลท มี ซี ให้ฉันดูหน่อย
2. Have a nice day. / แฮฟ อะ ไนซ เด ขอให้เป็นวันที่ดี
3. It’s impossible. / อิทส อิมพอซซิเบิล มันเป็นไปไม่ได้
4. You’re welcome. / ยัวร เวลคัม ด้วยความยินดี
5. I like English best. / ไอ ไลค อิงลิช เบสท ฉันชอบวิชาภาษาอังกฤษที่สุด
6. Please keep your promise. พลีส คีพ ยัวร พรอมมิส กรุณารักษาสัญญาของคุณ
7. Do you have any suggestions? / ดู ยู แฮฟว เอนิ ซัจเจสเซินสุ คุณมีข้อแนะนำอะไรไหม?
8. This is fake news. / ดิส อิส เฟค นิวสุ นี่เป็นข่าวปลอม
9. Did you have fun? / ดิด ยู แฮฟ ฟัน เมื่อกี้สนุกไหม
10. I’m hurt. / ไอม เฮิรทุ ฉันบาดเจ็บ
11. Can I have a blanket? / แคน ไอ แฮฟุว อะ แบลงคิท ขอผ้าห่มหน่อยได้ไหม
ฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษ ท่องจำ 11 ประโยค

เรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย คาบเย็น

กฎหมายอยู่ใกล้ตัวเรา และแต่ละกฎหมายก็มีหลายรูปแบบ เพราะฉะนั้น การเรียนกฎหมายพื้นฐานเบื้องต้นเป็นสิ่งที่จำเป็นกับเรามาก

เรียนรู้ ความหมาย ลักษณะ ความสำคัญ และที่มาของกฎหมาย 

กฎหมาย หมายถึง 

ข้อกำหนดที่ผู้มีอำนาจตราขึ้น เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฎิบัติตามเป็นการทั่วไป

ลักษณะของกฎหมาย

จะมีสภาพบังคับเท่าเทียมกับทุกคน มีผลกระทบเมื่อฝ่าฝืน ซึ่งถ้าใครฝ่าฝืนก็จะมีผลกระทบตามมา ซึ่งอาจจะเป็น การลงโทษ การบังคับให้ทำ หรือการห้ามทำอะไรบางอย่าง

ความสำคัญของกฎหมาย

กฎหมายเป็น บรรทัดฐานของสังคม ที่เป็นทางการ เป็นสิ่งที่ช่วยจัดระเบียบสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย นอกจากนี้ กฎหมายยังเป็นตัวกำหนด สิทธิเสรีภาพของประชาชน คอยคุ้มครองให้ประชาขนมีอิสระตามสมควร และได้รับในสิ่งควรจะได้รับ นอกจากนี้ กฎหมายยังเป็นตัวกำหนด หน้าที่ของประชาชนที่จะต้องช่วยเหลือและพัฒนาประเทศชาติ 

กฎหมายมาจาก รัฏฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจแห่งรัฐ หรืออาจจะเป็น รัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

แต่การที่ รัฏฐาธิปัตย์ จะเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาเป็นกฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับ รัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งปกติกฎหมายจะถูกกำหนดจากจารีตประเพณีหรือวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นและสากล หรือกำหนดจากสภาพที่สังคมเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ถ้า รัฏฐาธิปัตย์ ใช้อำนาจไม่เหมาะสม ก็เป็นไปได้ว่า รัฏฐาธิปัตย์ จะออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน 

แม้ว่ากฎหมายจะมีความสำคัญ แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้ พวกเราในฐานะประชนชนควรเข้าใจทั้งข้อดีและข้อควรระวังของกฎหมาย เพื่อให้กฎหมายพัฒนาไปในทางที่ดียิ่งขึ้น

ประเภทของกฎหมาย

เกณฑ์ในการแบ่งประเภทของกฎหมาย มี 2 ประเภท
• ตามความสัมพันธ์ของบุคคลที่เป็นคู่กรณีในกฎหมาย
• ตามบทบาทของกฎหมาย

→ ประเภทตามความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี
• เรื่องบางเรื่องเป็นกติกาในสังคมที่กำหนดขึ้น โดยรัฐไม่เกี่ยวข้อง เช่น การซื้อขาย , การตั้งบริษัท ,กฎหมายแพ่ง 
• เรื่องบางเรื่อง รัฐเป็นคู่กรณีในกฎหมาย เช่น การเมือง , ความผิดและการลงโทษ , กฎหมายอาญา , กฎหมายปกครอง

เราจะเรียก กฎหมายที่รัฐไม่เกี่ยวข้อง ว่า กฎหมายเอกชน
เราจะเรียก กฎหมายที่รัฐเป็นคู่กรณี ว่า กฎหมายมหาชน

→  ประเภทตามบทบาทของกฎหมาย

เรามาดูตัวอย่างของกฎหมาย 2 เรื่องนี้

1. กฎหมายที่เขียนบอกว่า “ใครฝ่าฝืน ต้องถูกจับ” → เนื้อหา → คือ กฎหมายสารบัญญัติ
2. กฎหมายที่เขียนบอกว่า “การจับกุมได้ต้องมีหลักฐาน” → วิธีการ → คือ กฎหมายวิธีสบัญญัติ

กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายด้านเนื้อหา เช่น ความผิดมันเป็นอย่างไร เรื่องราวมันเป็นอย่างไร

กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายด้านวิธีการ เช่น เมื่อผู้กระทำผิดกฎหมาย กระบวนการทางศาล หรือ กระบวนการจับกุม พยานหลักฐาน จะต้องมีวิธีการอย่างไร

ทบทวนกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องของ “ความผิด” เพราะฉะนั้น กฎหมายอาญา จึงเป็นส่วนหนึ่งของ กฎหมายมหาชน

กฎหมายมหาชน ไม่ใช่มีเพียง กฎหมายอาญา อย่างเดียว แต่ยังมีตระกูลกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่ไม่ได้พูดเรื่องความผิด แต่เป็นเรื่องของการเมืองการปกครองของรัฐ กฎหมายปกครอง จึงเป็น กฎหมายมหาชน อีกประเภทหนึ่ง

กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องระหว่างบุคคล เพราะฉะนั้น กฎหมายแพ่ง จึงเป็นส่วนหนึ่งของ กฎหมายเอกชน

ระบบกฎหมาย

เมื่อเรานึกถึงกฎหมาย เราจะนึกถึงอะไรที่เป็นมาตราต่างๆ เป็นข้อความ หรือ เป็นกำหนด ซึ่งมีการบัญญัติกฎหมายไว้ชัดเจนเป็นระบบ แต่สมัยก่อนมีกฎหมายแบบนี้หรือไม่?

ที่มาของกฎหมาย

เมื่อสมัยก่อนสิ่งที่มีอยู่ คือ จารีตประเพณี ไม่มีได้เป็นลายลักษณ์อักษรใดๆ ดังนั้น เมื่อมีผู้กระทำผิด จะมีคนๆหนึ่งมาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ดังนั้น กฎหมายจึงเกิดมาจากคำตัดสินคดีตามจารีตประเพณี

ซึ่งต่างจากสมัยนี้ ซึ่งตัวตั้ง คือ กฎหมาย อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเมื่อมีผู้กระทำผิด จึงตัดสินไปตามกฎหมาย

จารีตประเพณี → มีคนตัดสินชี้ขาด → กฎหมาย คือ คำตัดสินเก่า = กฎหมายจารีตประเพณี(Common Law)
กฎหมาย → ตัดสินตามกฎหมาย = กฎหมายลายลักษณ์อักษร(Civil Law)

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

กฎหมายแม่บท เช่น รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายที่ครอบคลุมหลักการสำคัญ กฎหมายแม่บทจะไม่เขียนรายละเอียด เช่น “ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับการศึกษา” จะไม่เขียนรายละเอียดเพิ่มอีก ออกโดยหน่วยงานใหญ่กว่า (หน่วยงานระดับประเทศ , เป็นตัวแทนประชาชนทั้งหมด)

→ รัฐธรรมนูญ(รธน.) 
• เขียนหลักการในภาพรวมทั้งหมด ยกเลิกไม่ได้
• การแก้ไขต้องผ่านรัฐสภา ถ้าร่างใหม่ต้องผ่านประชามติ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ จะเขียนหลักการในภาพรวมทั้งหมด ยกเลิกไม่ได้ แต่แก้ไขได้ การแก้ไขจะต้องผ่านรัฐสภา แต่ถ้าหากต้องร่างใหม่โดยทั่วไปจะต้องผ่านประชามติ

→ พระราชบัญญัติ(พรบ.) 
• หลักการของกฎหมายเฉพาะในแต่ละเรื่อง
• ต้องผ่านรัฐสภา เพื่อออก ,แก้ไขเพิ่มเติม ,หรือยกเลิก
• ประมวลกฎหมาย ถือเป็นพระราชบัญญัติประเภทหนึ่ง

พระราชบัญญัติ จะเป็นหลักการขนาดใหญ่เหมือนรัฐธรรมนูญ แต่จะเป็นหลักการเฉพาะ เช่น “ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับการศึกษา” ในพระราชบัญญัติ จะเขียนพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติออกมา โดยเขียนในเรื่องของหลักการด้านการศึกษาโดยละเอียด ลงไปในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น การเขียนพระราชบัญญัติ ต้องผ่านรัฐสภาเพื่อ ออก ,แก้ไข ,เพิ่มเติม ,หรือยกเลิก

ซึ่ง พระราชบัญญัติ จะต้องไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
*เกร็ดความรู้ “ประมวลกฎหมาย” ก็ถือว่าเป็นกฎหมายในลำดับศักดิ์นี้ เช่นเดียวกัน

→ พระราชกำหนด(พรก.)
• เหมือน พระราชบัญญัติ แต่ออกโดยคณะรัฐมนตรีในภาวะเร่งด่วน แต่ต้องผ่านรัฐสภา เพื่อให้บังคับใช้ได้ต่อไป

พระราชกำหนด เหมือนกับ พระราชบัญญัติ ทุกอย่าง แต่แค่ผู้ออกเป็น “คณะรัฐมนตรี” ถึงแม้คณะรัฐมนตรีศักดิ์จะไม่เท่ารัฐสภา แต่อาจมีเหตุผลเร่งด่วนที่ทำให้ต้องออกโดยด่วน ถ้าหากจะบังคับใช้ให้มีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติ ก็ต้องกลับไปผ่านรัฐสภาอีกครั้ง เพื่อให้บังคับใช้ได้ต่อไป แต่ก็จะถือว่าชื่อของมันยังคงเป็น พระราชกำหนด อยู่ดี

กฎหมายลูก คือ กฎหมายที่เขียนรายละเอียดมากขึ้น ออกโดยหน่วยงานระดับรอง (กระทรวง , เทศบาล) เช่น “รายชื่อโรคติดต่อที่ร้ายแรงเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

→ พระราชกฤษฎีกา(พรฎ.)
• ออกโดยคณะรัฐมนตรี

→ กฎกระทรวง , ข้อบังคับ , ระเบียบ , ประกาศ , คำสั่ง
• ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

→ ข้อบัญญัติ , เทศบัญญัติ
• ออกโดยสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กฎหมาย 3 ส่วนนี้ มีกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ เช่น มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับโรคติดต่อที่ร้ายแรง ในกฎหมายอาจจะให้ไปกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม โดยประกาศเป็น เช่น  เขียนเป็นกฎกระทรวง , เขียนเป็นพระราชกฤษฎีกา หรือเขียนเป็นคำสั่ง


แบบทดสอบหลังเรียน คาบสุดท้าย

1.) สระเดี่ยวในภาษาอังกฤษ 5 ตัว คือ A ,E ,I ,O ,U  ใช้เทียบสระใดในภาษาไทย ?
2.) สระผสมในภาษาอังกฤษ Ae , ee , ai , oo , ua , oi , ao ใช้เทียบสระในภาษาไทย ?
3.) จงบอกคำแปลของคำศัพท์ภาษาอังกฤษต่อไปนี้ ?
 1. Afraid / อะเฟรด
 2. Betrayed / บิเทรดุ
 3. Comfortable / คัมฟทะเบิล 
 4. Determined / ดิเทอร์ มินดุ 
 5. Empty / เอมที่ 
4.) จงอธิบายความหมาย ลักษณะ และความสำคัญ ของกฎหมาย ?
5.) เราจะเรียก กฎหมายที่รัฐไม่เกี่ยวข้อง ว่า กฎหมายอะไร ?
6.) เราจะเรียก กฎหมายที่รัฐเป็นคู่กรณี ว่า กฎหมายอะไร ?
7.) กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายแบบไหน ?
8.) กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายแบบไหน ?
9.) กฎหมายแม่บท มีลักษณะอย่างไร และมีอะไรบ้าง ?
10.) กฎหมายลูก มีลักษณะอย่างไร และมีอะไรบ้าง ?

ส่งคำตอบ…

เฉลย

1.) A = สระ อะ , อา , แอ ,   ั
E = สระเอ๊ะ , เอ ,  อี
I = สระอิ , ไอ
O = สระ ออ , โอ
U = สระอุ , อู ,  ั

2.) Ae = สระ แอะ , แอ
ee = สระอี
ai = สระ อัย , ไอ , อาย
oo = สระ อุ , อู
ua = สระ อัวะ , อัว , เอือ
oi = สระ ออย , โอย
ao = สระ อาว 

3.) 1. Afraid / อะเฟรด / รู้สึกกลัว หรือกังวล
2. Betrayed / บิเทรดุ รู้ / สึกถูกทรยศ ถูกหักหลัง
3. Comfortable / คัมฟทะเบิล / สบายๆ
4. Determined / ดิเทอร์ มินดุ / มุ่งมั่น ตั้งใจ
5. Empty / เอมที่ / รู้สึกว่างเปล่า

4.) กฎหมาย หมายถึง  ข้อกำหนดที่ผู้มีอำนาจตราขึ้น เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฎิบัติตามเป็นการทั่วไป โดยมีลักษณะสภาพบังคับเท่าเทียมกับทุกคน มีผลกระทบเมื่อฝ่าฝืน ซึ่งถ้าใครฝ่าฝืนก็จะมีผลกระทบตามมา ซึ่งอาจจะเป็น การลงโทษ การบังคับให้ทำ หรือ การห้ามทำอะไรบางอย่าง กฎหมายมีความสำคัญ เพราะเป็น บรรทัดฐานของสังคมที่ช่วยจัดระเบียบสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย และเป็นตัวกำหนด สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน คอยคุ้มครองให้ประชาขนมีอิสระตามสมควร

5.) กฎหมายเอกชน

6.) กฎหมายมหาชน

7.) กฎหมายด้านเนื้อหา เช่น ความผิดมันเป็นอย่างไร เรื่องราวมันเป็นอย่างไร

8.) กฎหมายด้านวิธีการ เช่น เมื่อผู้กระทำผิดกฎหมาย กระบวนการทางศาล หรือ กระบวนการจับกุม พยานหลักฐาน จะต้องมีวิธีการอย่างไร

9.) กฎหมายแม่บท คือ กฎหมายที่ครอบคลุมหลักการสำคัญ กฎหมายแม่บทจะไม่เขียนรายละเอียด เช่น รัฐธรรมนูญ(รธน.), พระราชบัญญัติ(พรบ.)  , พระราชกำหนด(พรก.)

10.) กฎหมายลูก คือ กฎหมายที่เขียนรายละเอียดมากขึ้น ออกโดยหน่วยงานระดับรอง (กระทรวง , เทศบาล) เช่น พระราชกฤษฎีกา(พรฎ.) , กฎกระทรวง , ข้อบังคับ , ระเบียบ , ประกาศ , คำสั่ง , ข้อบัญญัติ , เทศบัญญัติ


📒 อ้างอิง | แหล่งข้อมูล | แหล่งที่มา | ผู้สอน | ผู้เรียบเรียง:รักเรียน ruk-learn.com

ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ คาบเช้า
→ สอนโดย : ติวเตอร์จาก เรียนง่ายภาษาอังกฤษ | จากบทเรียน เริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษจาก 0 | เทียบ ไทย-อังกฤษ | ฝึกเขียนชื่อเป็นอังกฤษ

ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ คาบบ่าย
→ สอนโดย : ติวเตอร์จาก PANG English Channel | จากบทเรียน คำศัพท์ภาษาอังกฤษ พื้นฐาน ในชีวิตประจำวัน สำหรับเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ
→ สอนโดย : อาจารย์ต้นอมร จาก tonamorn | จากบทเรียน 500 ประโยคภาษาอังกฤษ ใช้ในชีวิตประจําวัน พร้อมคำอ่าน อาจารย์ต้นอมร

ผู้สอนวิชาสังคมศึกษา  คาบเย็น
→ สอนโดย : ครูไบรท์ ครูวิชาสังคม จาก StartDee | จากบทเรียน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย