สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เรียกว่า มด สัตว์แมลงสังคมที่ขยันอดทน

สิ่งมีชีวิตน้อยๆ ที่เรียกว่า มด แต่ใช้ชีวิตได้ทรงพลังมาก

มด (Ant) สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เราไม่ค่อยสนใจกับมันเท่าไหร่นัก ถ้าไม่ได้ออกนอกบ้าน เราก็จะเห็น มด ถ้าไม่ตรงถังขยะ ก็ขอบผนังบ้าน มันจะเดินเรียงแถวกันเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนหุ่นยนต์ที่ถูกควบคุมให้ทำหน้าที่โดยใครสักคน แต่ถ้าเรานั่งมองมันและสังเกตพฤติกรรมของมันดีๆ การใช้ชีวิตของ มด นั้นมันน่าสนใจและน่าเอามาเป็นแบบอย่างมาก นอกจากการใช้ชีวิตแล้ว เพื่อการอยู่รอดและสืบพันธุ์ สังคมของมด เรียกว่า เป็นสังคมชั้นสูงที่มีการแบ่งชั้นวรรณะกันชัดเจน มากๆ

ภายในรัง มดจะแบ่งหน้าที่การทำงานตามชนชั้นกันอย่างชัดเจน โดยมี มดราชินี (Queen) เป็นศูนย์กลางการปกครองเปรียบเหมือนผู้นำของอาณาจักร เธอมีหน้าที่ออกไข่เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรมด เธอสำคัญมาก เพราะการอยู่รอดของอาณาจักรขึ้นอยู่กับเธอ

วรรณะของมดประกอบด้วย 3 ตำแหน่ง โดยมีหน้าที่ต่างกัน

1. มดราชินี (Queen) คือตัวเมียสืบพันธุ์ ความสามารถในการผสมพันธุ์และวางไข่ มีขนาดใหญ่ที่สุดในรัง มีปีก มีหน้าที่ออกไข่เพิ่มประชากรมดเพียงอย่างเดียว แต่เธอยังมีบทบาทหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย เป็นผู้นำ และจัดระเบียบฝูงมดเพื่อให้มั่นใจในอาณาจักร ตัวอ่อนของเธอจะคล้ายหนอน เธอจะมีชีวิตอยู่ได้นาน 1 -2 ปี จนถึง 12 – 15 ปี  เธอสามารถวางไข่ได้หลายพันฟอง ซึ่งพัฒนาเป็น มด หลายวรรณะ รวมถึงมดงาน ทหาร มดเพศผู้ และราชินีที่จะสืบพันธุ์ในอนาคต เธอไม่ต้องออกหาอาหารเอง มดงานจะนำอาหารมาให้เอง

Fireant castes
(มดคันไฟ) การฟักไข่ของมดราชินี ซึ่งสามารถออกมาเป็นได้หลายวรรณะ ภาพโดยfireants.tennessee

ในรังมดรังหนึ่ง จะมีมดราชินีได้มากกว่า 1 ตัว แต่อาจจะถูกกำจัดโดยมดงาน ให้เหลือเพียง 1 ตัวเท่านั้น ในการควบคุมอาณาจักร เธอจะปล่อยสัญญาณเคมีที่เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromone) ซึ่งเป็นตัวถ่ายทอดข้อมูลคำสั่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งมดเพศผู้เพื่อการผสมพันธุ์ การสั่งการมดงาน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและควบคุมกิจกรรมของประชากร มดได้ ทำให้มั่นใจได้ว่ามดทุกตัวจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในอาณาจักร นอกจากนี้ ฟีโรโมน (Pheromone) คือสิ่งที่แสดงถึงความมีอำนาจของเธอ เพราะถ้าเธอมี ฟีโรโมน (Pheromone) ที่น้อยเกินไป เธอจะถูก มดงานก่อกบฏ มองว่าไม่มีความสามารถ เธอจะถูกกำจัดทันที แต่ก็มี มดราชินี บางตัวที่รู้ทัน เธอจะพยายามรักษาระดับ ฟีโรโมน (Pheromone) เอาไว้ให้มากที่สุด โดยการออกไข่พอดีๆ ไม่ให้ฟีโรโมนอ่อนแอ เพื่อรักษาฟีโรโมน (Pheromone) ไว้ แต่ถึงกระนั้น การออกไข่ที่น้อยเกินไปก็อาจจะถูก มดงาน กำจัดก็ได้

800px Daceton armigerum
ราชินีมด Neotropical Daceton armigerum รายล้อมไปด้วยมดงานที่คอยปกป้อง ดูแล และให้อาหารเธอ ภาพโดย Galpert

มดราชินี บางตัวสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปี แต่เมื่อเธอมีอายุมากขึ้น หรือ ในกรณีที่เธอเสียชีวิตหรือไร้ความสามารถ มดงานจะเลือกมดราชินีตัวใหม่ หลายกรณี เช่น ถ้าหาก ราชินีมี 2 ตัว มดงานจะกำจัดตัวที่อ่อนแอที่สุด หรือ มดงานจะเลือกและเลี้ยงดูตัวอ่อนที่จะออกมาเป็นราชินีตัวต่อไป หรือถ้าไม่มีเลย มดงานอาจจะหาทำเลใหม่ เพื่อที่จะย้ายอาณาจักร หรือรอช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์

แต่ที่หนักไปกว่านั้น การสูญเสียราชินี ทำให้ความสามารถในการสืบพันธุ์ของอาณาจักรสิ้นสุดลง และนำไปสู่การล่มสลายในที่สุด ฝูงมดก็จะตาย อาณาจักร มดก็จะถึงจุดจบ … เนื่องจากต้องอาศัยความสามารถในการสืบพันธุ์ และทักษะความเป็นผู้นำ และการดูแลรักษาโครงสร้างทางสังคมที่เป็นระบบจาก “มดราชินี”

2. มดตัวผู้ (MALE) มีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือการผสมพันธุ์กับมดราชินี เป็นมดมีปีก มีขนาดใหญ่หรืออาจมีขนาดใกล้เคียงกับมดงานแต่ขนาดเล็กกว่าราชินี มีหัวที่เล็กกว่า ดวงตาที่ใหญ่กว่า หนวดที่ตรงกว่า รูปร่างโดยรวมจะคล้ายกับต่อหรือแตนมากกว่ามดงาน มีส่วนอกที่ใหญ่เพื่อรองรับกล้ามเนื้อปีก มีอายุขัยสั้นมาก โดยเฉลี่ยเพียง 1-2 วัน หลังจากผสมพันธุ์แล้ว อวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์จะเสื่อมสภาพ มดตัวผู้จะไม่มีบทบาทใด ๆ ในรังอีกต่อไป จึงไม่ได้รับการดูแลจากมดงาน มดงานอาจฆ่าหรือทิ้งให้อดอาหารตาย เพื่อลดภาระในการดูแล

caste systems ant societies type ants social structure male queen worker 213336076
ภาพจำลอง ระบบวรรณะในสังคมมด โครงสร้างทางสังคมรูปร่างของ มดตัวผู้ มดราชินี มดงาน ภาพโดย dreamstime

ทำไมมดตัวผู้ถึงตายหลังจากผสมพันธุ์ เป็นเพราะว่ากระบวนการผสมพันธุ์ของมดนั้นใช้พลังงานมาก ในหลายสายพันธุ์ มดตัวผู้จะใช้พลังงานทั้งหมดที่มีในการผสมพันธุ์เพื่อให้แน่ใจว่าพันธุกรรมของพวกมันจะถูกส่งต่อไปยังรุ่นถัดไป หลังจากนั้นพวกมันจะหมดพลังงานและตายในที่สุด เช่น ในขณะที่พวกมันผสมพันธุ์กันอย่างแรง อวัยวะเพศภายในของมดตัวผู้บอบชํ้าและแหลก ขณะเข้าไปในอวัยวะเพศของราชินี  หรือ มดตัวผู้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในขณะที่พวกมันเตรียมการผสมพันธุ์ หลังจากการสร้างสเปิร์มแล้ว ไขมันสำรองของพวกมันจะถูกใช้หมดไปเป็นส่วนใหญ่ และร่างกายของพวกมันก็จะเริ่มเสื่อมถอยลง

461px Figure 3 5
ตัวอย่างของหนึ่งในสองประเภทหลักของพฤติกรรมการผสมพันธุ์ในมด ซึ่งก็คือ the female-calling syndrome (a) เออร์กาตอยด์ ที่มีลักษณะคล้ายมดงาน (สีดำ) จะทำท่าเรียก ในระหว่างนั้นเธอจะปล่อยฟีโรโมนทางเพศออกจากต่อมไพจิเดียลที่อยู่ระหว่างเทอร์กิตช่องท้อง (b) มดตัวผู้เข้ามาหาเธอแล้วใช้หนวดแตะเธอ (c) ตัวผู้จะขึ้นขี่ตัวเมีย จับเธอด้วยส่วนที่ยื่นออกมาของทรวงอก และยื่นอวัยวะร่วมเพศออกมาเพื่อค้นหาอวัยวะเพศของตัวเมีย (d) การมีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้น (จาก Holldobler และ Haskins, 1977; วาดโดย T. Holldobler-Forysth) ภาพโดย : Galpert

นอกจากนี้ ในบางสายพันธุ์ มดตัวผู้จะถูกมดตัวเมียฆ่าหลังจากผสมพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันผสมพันธุ์กับมดตัวเมียตัวอื่น ๆ และเพื่อให้แน่ใจว่ามดตัวเมียจะได้รับสารอาหารจากมดตัวผู้

ถึงแม้ว่ามดตัวผู้จะมีหน้าที่เพียงหน้าที่เดียว คือ ผสมพันธุ์กับราชินี แต่มันได้ชื่อว่าเป็นมดที่วรรณะสูง พวกมันขอแค่เพียงถ่ายทอดสารพันธุกรรมของมันไปยังมดรุ่นต่อไป แม้ว่าภายหลังจากทำหน้าที่แล้ว มันจะถูกทอดทิ้งให้ตาย แต่มดตัวผู้ก็ยอมสละชีวิตเพื่อให้สามารถตั้งอาณานิคมใหม่ได้

3. มดงาน (WORKER) มีหน้าที่เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของอาณาจักร มีบทบาทหน้าที่เยอะที่สุด มีหน้าที่รับผิดชอบทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดของอาณาจักร คือ การหาอาหาร การดูแลราชินี การดูแลตัวอ่อน ความสะอาด การสร้างรัง และการป้องกันรัง เป็นมดที่ก่อกบฏได้เสมอถ้าหากราชินีอ่อนแอ มันทำไปก็เพื่ออาณาจักร เพราะถ้าหากราชินีอ่อนแอ อาณาจักรก็พบจุดจบ

มดงานจะเป็นเพศเมียที่ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้(เป็นหมัน) ลักษณะของมดงานจะไม่มีปีก มีขนาดเล็กกว่ามดราชินีและมดเพศผู้ ขนาดที่เล็กกว่าทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้นและสามารถเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่แคบได้ดีขึ้น มีกรามที่แข็งแรงเพื่อใช้ในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งใช้สำหรับบรรทุกสิ่งของและปกป้องอาณานิคม มีอายุยืนยาวประมาณ 4 – 7 ปี

มดงานเป็นสัตว์สังคมพวกเขาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน พวกเขาสามารถสื่อสารกันผ่านวิธีการต่างๆ มากมาย รวมถึงสัญญาณทางเคมีและการเคลื่อนไหวทางกายภาพ

มดงานแบ่งหน้าที่ออกเป็น 2 กลุ่ม ตามขนาด
ขนาดใหญ่จะทำหน้าที่เป็น มดทหารต่อสู้ป้องกันรัง
ขนาดเล็กจะทำหน้าที่ หาอาหาร การดูแล การรักษาความสะอาด และสร้างรัง

มดงานมีบทบาทสำคัญในการดูแลรัง มดงานทำงานหลากหลายที่จำเป็นสำหรับอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรือง โดยมดงานแต่ละตัวมีหน้าที่รับผิดชอบงานต่างๆภายในอาณาจักร ตามอายุ ขนาด และความสามารถ ของมัน

หน้าที่ของมดงาน

1. การหาอาหาร : เป็นหน้าที่ ที่สำคัญที่สุดของมดงาน เพื่อรวบรวมอาหารล่อเลี้ยงประชากรมดในรัง มดงานสามารถออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ส่วนใหญ่จะพบในเวลากลางวัน มดงานสามารถหาอาหารได้หลายประเภท เช่น เมล็ดพืช ของเหลวจากพืช ซากสัตว์ และแมลง มดงานบางชนิดสามารถเก็บอาหารที่เป็นของเหลวไว้ในกระเพาะจนเต็ม แล้วนำกลับไปแจกจ่ายสมาชิกตัวอื่นในรังได้ โดยวิธีสำรอกออกมา

มดงานใช้สัญญาณทางเคมีที่เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromone) ในการติดต่อสื่อสารกับมดตัวอื่น ๆ เพื่อค้นหาและระบุแหล่งอาหาร ฟีโรโมนนำทางจะถูกปล่อยไว้ตามทางที่มดงานเดินผ่าน เพื่อให้สมาชิกตามไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้อง เมื่อพบแหล่งอาหารแล้วมดงานจะช่วยกันปล่อยฟีโรโมนทำให้มีมดเป็นจำนวนมากกรูมาที่อาหารอย่างรวดเร็ว พวกมันจะขนอาหารกลับไปยังอาณานิคมเพื่อแบ่งให้มดตัวอื่นๆ

videoblocks ants close up a worker ant feeds the uterus campontus nikobarensis b zwtaq2w thumbnail 1080 01
มดงานกำลังป้อนอาหารให้มดราชินี ภาพโดย storyblocks

2. การดูแลรักษาความสะอาดภายในรัง : เพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชากรมดในรัง มดงานจะหมั่นเก็บเศษอาหารที่เหลือใช้ ตัวอ่อนที่ตายแล้ว หรือสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกจากรัง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค มดงานจะช่วยกันขนย้ายเศษขยะออกไปทิ้งยังจุดที่กำหนดไว้ภายนอกรัง นอกจากนี้ มดงานจะช่วยกันระบายอากาศภายในรัง เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทสะดวกและป้องกันไม่ให้รังอับชื้น

ant worker 15548293
มดงานกำลังอุ้มมดที่ตายแล้วอีกตัวจากขากรรไกรล่าง ภาพโดย Unteroffizier

เหตุผลที่มดงานต้องความสะอาดรังเสมอ เพราะถ้าหากภายในรังสกปรกเชื้อโรคต่างๆ จะแพร่กระจายไปทั่วรัง ซึ่งส่งผลให้มดในรังป่วยหรือตายได้ การเลี้ยงดูตัวอ่อนและราชินีจะยากลำบาก อาจทำให้อาณาจักรของมันสิ้นสุดลง เห็นไหมครับว่ามดงานทำเพื่อรังแค่ไหน

R.6207c92be4af5c0fb441f5f823420ec6?rik=lbug0bSMWZvgNA&riu=http%3a%2f%2fblog.myrmecologicalnews.org%2fwp content%2fuploads%2f2019%2f06%2fAnts bring body to toilet KOPIE
มดงานกำลังจัดการศพของผู้รุกราน ภาพโดย MYRMECOLOGICAL NEWS BLOG

3. การดูแลและเลี้ยงดูไข่ตัวอ่อน : หน้าที่พี่เลี้ยงที่เปรียบเสมือนพ่อแม่ที่ดูแลลูกๆ  มดงานจะดูแลเอาใจใส่ตัวอ่อนตั้งแต่ระยะไข่ คอยปกป้องตัวอ่อนจากผู้ล่า และย้ายตัวอ่อนไปยังตำแหน่งต่างๆ ภายในรังเพื่อความปลอดภัย จนกระทั่งตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นมดตัวเต็มวัย

2add157f aa79 4046 b19f 87d53be1bc2e
มดงาน 4 ตัว กำลังดูแลตัวอ่อน ภาพโดย communities.springernature

มดงานจะดูแลไข่แบบดีที่สุด จะคอยทำความสะอาดไข่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ติดเชื้อหรือเสียหาย โดยมดงานจะจัดเรียงไข่เป็นระเบียบในห้องที่เตรียมไว้ และคอยปรับเปลี่ยนตำแหน่งของไข่ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิและความชื้น

มดงานจะหาอาหารมาป้อนให้กับตัวอ่อน โดยจะนำอาหารมาบดหรือเคี้ยวให้ละเอียดก่อนที่จะป้อน หลังจากที่ตัวอ่อนสร้างของเสียออกมา มดงานจะคอยทำความสะอาดตัวอ่อนอยู่เสมอ และช่วยควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในรังให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน มดงานจะสัมผัสตัวอ่อนบ่อยครั้งเพื่อช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เมื่อตัวอ่อนเข้าสู่ระยะดักแด้ มดงานจะคอยทำความสะอาดบริเวณรอบๆดักแด้ และคอยปกป้องดักแด้จากอันตรายต่างๆ

มดงานต้องใช้ความพยายามและเวลาในการดูแลตัวอ่อนให้เติบโตเป็นมดตัวเต็มวัยที่แข็งแรงและสมบูรณ์ เพราะตัวอ่อนคืออนาคตของรัง การดูแลตัวอ่อนให้เติบโตแข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสืบทอดเผ่าพันธุ์

4. การป้องกันอาณาจักรจากผู้รุกราน : หน้าที่ของมดงานที่มีขนาดใหญ่ เราเรียกมดงานนี้ว่า “มดทหาร” ทำหน้าที่เป็นรั้วของอาณาจักร เป็นแนวหน้าป้องกันด่านแรก เพื่อปกป้องรังและราชินีจากผู้รุกราน มดทหารจะโจมตีผู้ล่าหรือผู้บุกรุกที่พยายามเข้าไปในรัง โดยใช้ขากรรไกรล่างและเหล็กในอันทรงพลังเพื่อขับไล่ผู้รุกราน ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายและความสามัคคีทำให้การป้องกันอาณาจักรมีความแข็งแกร่งอย่างมาก

กลยุทธ์การป้องกันของมดทหาร มันจะคอยเฝ้าระวังบริเวณรอบๆ รังอยู่ตลอดเวลา พวกมันจะใช้หนวดในการตรวจจับกลิ่นและการสั่นสะเทือน เพื่อค้นหาสัญญาณอันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากพบผู้รุกราน มดงานจะรีบส่งสัญญาณเตือนไปยังเพื่อนร่วมรังทันที โดยใช้ ฟีโรโมน (Pheromone) ในการสื่อสารกัน เพื่อบอกให้เพื่อนร่วมรังรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

pheidole hugo durras copy
มดงานที่เติบโตเป็นทหารโดยมีหัวที่ใหญ่ไม่สมส่วน ในขณะที่มดบางชนิดเติบโตเป็นมดงานขนาดเล็ก ภาพโดย Hugo Durras

เมื่อได้รับสัญญาณเตือน มดทหารจะระดมกำลังกันมาที่จุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว พวกมันจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อต่อสู้กับผู้รุกรานโดยไม่กลัวตายถึงแม้ว่าผู้บุกรุกจะตัวใหญ่แค่ไหน มดทหารจะสู้สุดกำลังชีวิตโดยใช้อาวุธของมัน กรงเล็บ เขี้ยว และสารพิษ พวกมันจะใช้ร่างกายของตัวเองเป็นเกราะป้องกันรัง และใช้เหล็กในต่อสู้กับศัตรูด้วยความสามัคคี เพื่อปกป้องอาณาจักรและราชินี พวกมันจะสละชีวิตเพื่อปกป้องรังได้เสมอ

5. การช่วยเหลืองานให้มดราชินี : มดงานมีบทบาทสำคัญในการดูแลและสนับสนุนมดราชินีในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น มดงานจะเลี้ยงดูเธอ ดูแลเธอ และดูแลลูกของเธอ คอยป้อนอาหาร ทำความสะอาด และดูแลมดราชินีอย่างใกล้ชิด และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในรังเพื่อให้แน่ใจว่ามดราชินีและลูกของเธอรู้สึกสบาย เพื่อให้มดราชินีสามารถวางไข่และสืบพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง

โดยรวมแล้ว มดงานเป็นส่วนสำคัญของอาณาจักรมด และหากไม่มีพวกเขา อาณาจักรก็ไม่สามารถอยู่รอดได้นานนัก

ความสามารถในการปรับตัวของมด ในการอยู่รอดบนโลกได้อย่างยาวนาน

มดถึงแม้ว่าจะตัวเล็กและบอบบาง แต่รู้หรือไม่ว่ามันอาศัยอยู่บนโลกมานานมากกว่า 100 ล้านปี เลยทีเดียว เรียกได้ว่ามันมีชีวิตอยู่ตั้งแต่ในยุคไดโนเสาร์ คือยาวนานมาก การที่มันถูกเรียกว่าเป็นสัตว์โบราณดึกดำบรรพ์ก็ไม่แปลกใจ

แต่ทำไมมันถึงอยู่ได้ยาวนานขนาดนี้ ก็เพราะว่า มดเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา มันปรับตัวเก่ง มดสามารถแบกของที่หนักกว่าน้ำหนักตัวถึง 50 เท่า ได้อย่างรวดเร็ว มดสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดีมาก เช่น การวิเคราะห์ฝน ก่อนที่ฝนจะตก มดสามารถรับรู้ถึงความชื้นในอากาศและการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในดินได้ดีกว่ามนุษย์ มดจึงหาทางป้องกันรับมือและอพยพได้รวดเร็ว

มดมีจำนวนที่มาก มันแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบและมีความเสียสละ ทำให้สามารถอยู่รอดและสามารถสืบพันธุ์และดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ยาวนาน


📒 อ้างอิง | แหล่งข้อมูล | แหล่งที่มา | ผู้สอน | ผู้เรียบเรียง:รักเรียน ruk-learn.com